อาการ “ย้ำคิดย้ำทำ” พฤติกรรมไม่ถึงประสงค์

by dailylifestyle
ย้ำคิดย้ำทำ

พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ หลาย ๆ  ท่านคงเคยเป็นจนดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องปกติ หรือบางทีก็ดูเหมือนเป็นนิสัยส่วนตัวไปแล้ว อาการย้ำคิด ย้ำทำ หากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ และเกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างไม่มีเหตุผล จะส่งผลกระทบถึงการใช้ชีวิตประจำจนเกิดความวิตกกังวล และไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำเหล่านั้นได้เลย ทำให้เสียเวลาไปกับพฤติกรรมเหล่านี้เป็นอย่างมาก

ย้ำคิดย้ำทำ

สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดจากอะไร

1. สาเหตุจากสภาพร่างกาย ได้แก่ สมองทำงานผิดปกติโดยเฉพาะส่วน orbitofrontal cortex, cingulate cortex, caudate และ thalamus การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ โดยมีการหลั่งสารสือประสาท           ในระบบ ซีโรโทนินผิดปกติ และด้านพันธุกรรมตามสถิติพบว่าอัตราการเกิดโรคในแฝดไข่ใบเดียวสูงถึง ร้อยละ 60 – 90 ขณะที่คนทั่วไปมีเพียงร้อยละ 2 – 3 เท่านั้น

2. สาเหตุจากพฤติกรรมการเรียนรู้และความกลัว ยกตัวอย่างเช่น ความกลัวโชคร้าย เคยเป็นมั้ยครับ เวลาออกจากบ้านนึกขึ้นได้ว่าเราลืมปิดถังแก็ส กลับบ้านสิครับรออะไร แต่ความจริง อ้าวเราปิดแล้ว (เสียเวลา ไปทำงานสายอีกแล้ว)  เชื่อว่าหลายท่านคงเคยมีประสบการในเรื่องที่คล้าย ๆ แบบนี้กันมาแล้ว จริงมั้ยครับ

 อาการของโรคย้ำคิด ย้ำทำ 

                  โรคนี้แบ่งอาการออกเป็นสองแบบนะครับ อาการย้ำคิด ตามชื่อเลยเลยครับ คิดวนไปวนมา คิดซ้ำๆ กับเรื่องต่างๆ แบบไม่มีเหตุผล จนตัวเองเกิดความกังวล ไม่สบายใจ และรำคาญใจต่อความคิด ของตัวเอง อาการย้ำทำ ก็จะมีพฤติกรรมที่ต่อยอดมาจากความคิดซ้ำๆ นั้น แต่ลักษณะของพฤติกรรม จะกระทำอย่างไม่สมเหตุสมผล ทำจนเกิดพอดี หรือที่หลายๆคนเรียกเหมือนกันว่า “เยอะ”  อาการทั้งย้ำคิดและย้ำทำหากเป็นมากจะส่งผลให้ผู้ที่เป็น เลิกคิดหรือทำไม่ได้จนเกิดความทุกข์ทรมานมาก ทำให้เสียการเสียงาน และในบางรายเลือกที่จะกินหล้ากินเบียร์เพื่อลดความเครียด และหายมีอาการนี้นานจะพบภาวะของโรคจิตอื่นๆร่วมด้วยตามมา เช่น อาการซึมเศร้า อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายก็มี

ย้ำคิดย้ำทำ

การรักษาโรคย้ำคิด ย้ำทำมี 2 วิธี คือ พฤติกรรมบำบัดโดย

                 โดยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัวเป็นเวลานาน ๆ (exposure) เมื่อเวลาผ่านไปจากความกลัว ก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเอง การรักษาต้องค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากสิ่งที่กลัวน้อย ๆ ก่อนแล้วค่อยฝึกกับ เรื่องที่เรากลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ และต้องทำซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องทุกวัน นอกจากนั้นยังต้องพยายามงดเว้นการย้ำทำ ขณะฝึกด้วย การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้รักษาต้องให้ความร่วมมือ และทนทำสิ่งที่ตนเองกลัวให้ได้ การรักษาจึงจะได้ผล อาการต่าง ๆ จะหายไปอย่างรวดเร็วและหายแบบถาวร การรักษาอีกวิธีคือ การใช้ยารักษา เป็นยากลุ่มยาแก้โรคซึมเศร้า ชนิดออกฤทธิ์กับสารสื่อประสารทในสมอง เช่น ยาแก้ซึมเศร้า ยาคลายกังวล และยาต้านโรคจิต การรักษาอาการย้ำคิดย้ำทำสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การให้ความร่วมมือ กับการรักษาไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีการใด ล้วนทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายขาดได้ในที่สุด

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ dailylifestyle.co

You may also like

Leave a Comment