ถ้าพูดถึงคีย์บอร์ดเกมมิ่ง หลายคนก็มักจะนึกถึง Mechanical Keyboard ที่ช่วยให้สัมผัสการกดของเรามันและฟินมากยิ่งขึ้น เล่นเกมส์ได้สนุก เสียงกดแป้นโดนใจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ราคาหลัก 3 – 4 พันบาทขึ้นไป สำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด หรืออยากลองใช้คีย์บอร์ด Mechanical ตัวแรกแล้วไม่อยากจ่ายแพง เรามี 7 ยี่ห้อคุณภาพปังในราคาไม่เกิน 2,000 บาทมาแนะนำ เพื่อประกอบการตัดสินใจของเพื่อน ๆ บอกเลยว่าห้ามพลาดรีวิวนี้เด็ดขาด!
ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
รีวิว 7 คีย์บอร์ดเกมมิ่ง Mechanical Keyboard งบ 2,000 บาท ซื้อแล้วคุ้มมาก!
1.Ajazz AK992
มาเริ่มต้นกันด้วยแบรนด์คีย์บอร์ดราคาดี ที่มีขายอยู่ทั่วโลกอย่าง Ajazz ตัวนี้เป็นไซส์ 99 ปุ่มแน่นอนว่ามีโซน Numpad สำหรับสายทำเอกสาร ทำงาน เสียงนุ่ม แน่น เพราะใช้ Red Switch แถมยังเหมาะสำหรับคนที่เริ่มเข้าวงการคัสตอมเพราะสามารถเปลี่ยนสวิตช์ในแบบที่เราต้องการได้เลย คีย์แคปเดิมที่ทางแบรนด์ให้มาใช้วัสดุ ABS พร้อม 8 ปุ่ม PBT ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหาเพราะสามารถเปลี่ยนได้ ราคาจับต้องง่ายมี Knop เพิ่มลดเสียงดูหรูหรา มินิมอล เชื่อมต่อได้หลายทาง ใครอยากได้คีย์บอร์ดเกมมิ่งดี ๆ บอกเลยต้องลอง
ราคา : 1,090 บาท
2.Dekay96 Dk96 Volume Knob
ถ้าเพื่อน ๆ กำลังตามหาคีย์บอร์ด Mechanical ยี่ห้อไหนดี ซื้อมาแล้วคุ้มค่า รูปลักษณ์มินิมอล แต่งโต๊ะทำงานสวย ตอบโจทย์ทั้งเล่นเกมและงานเอกสาร เราอยากแนะนำเจ้า Dekay96 มาก น้องเป็นคีย์ไทยไฟลอด RGB สีพาสเทลควบคุมรูปแบบไฟและระดับเสียงโดยปุ่ม Knob แถมยังมีปุ่มตัวเลขครบครัน จะเท่ไปไหน มีสวิตช์พื้นฐานให้เลือกทั้ง Blue, Red และ Brown ตามความชื่นชอบ รองรับการคัสตอม กดสนุก ฟิน มันเว่อร์ การเชื่อมต่อแบบใช้สายไม่ดีเลย์ ไม่มีสะดุด เป็นคีย์บอร์ดเกมมิ่งที่ซื้อแล้วไม่เสียดายเงินแน่นอน
ราคา : 1,290 บาท
3.EGA Type CMK1
สำหรับ EGA Type CMK1 ตัวนี้เขาเป็นคีย์บอร์ด รีวิวแน่นใน TikTok ราคาดีงามแบงค์พันมีทอน เชื่อมต่อผ่านสาย USB Type-C ดีไซน์แบบคีย์บอร์ดเกมมิ่ง กินขาดตั้งแต่สีสันของคีย์แคปแต่โดยกำเนิดซึ่งมีให้ลูกค้าเลือกถึง 4 Layout รับรองว่าได้ใช้ 100 ปุ่มของเขาอย่างคุ้มค่าแน่นอน เหมาะสำหรับทุกสายงานตั้งแต่เล่นเกม E-sport ไปจนถึงทำงานเอกสารหนัก ๆ เพราะรองรับการกดถึง 50 ล้านครั้งในแต่ละปุ่ม น้องนักเรียนนักศึกษาคนไหนอยากมี Mechanical คีย์บอร์ดตัวแรกก็ต้องยี่ห้อนี้แหละ!!
ราคา : 890 บาท
4.Machenike K500
Machenike K500 นั้นเป็นคีย์บอร์ด 90% ที่รีวิวแน่นอีกหนึ่งยี่ห้อ เนื่องจากตัดปุ่มที่ไม่ค่อยได้ใช้งานออกจึงทำให้เขามีขนาดเล็ก ไม่เทอะทะเมื่อวางลงบนโต๊ะ ถ้ามีงบสองพันบาทก็อยากให้ลองเลือกตัวนี้มากเพราะเขารองรับการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth ได้แล้ว หรือถ้าชอบต่อสายเหมือนเดิมก็ยังใช้ USB Type-C แต่ไม่รองรับ MAC OS งานประกอบจัดว่าใช้ได้ คีย์แคปเดิมเป็นวัสดุ PBT มันดีตรงนี้ล่ะ จับคู่สีขาว เทา เขียวทึบมาให้สไตล์คีย์บอร์ดเกมมิ่งเลย เปิดไฟ RGB ฉ่ำ ๆ ได้ฟีลลิ่งขั้นสุด
ราคา : 1,849 บาท
5.Hello Ganss GS3087C
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนเล่นเกมส่วนใหญ่ชื่นชอบคีย์บอร์ด TKL มากกว่าไซส์อื่น เพราะเป็นขนาดกลาง กำลังดี และมักแยกปุ่มลูกศรบังคับขึ้นลง ซ้ายขวาออกมาด้านข้างเล้กน้อย ทำให้กดสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่มี Numpad มาก่อกวนใจให้คอยกดผิดอยู่เรื่อย ความพิเศษของเจ้า Hello Ganss รุ่นนี้ก็คือสามารถเชื่อมต่อได้ถึง 3 รูปแบบทั้ง Wireless 2.4Ghz สาย USB Type-C และที่สำคัญคือเชื่อมต่อ Bluetooth 5.1 ได้ถึง 5 อุปกรณ์พร้อมกัน จะเว่อร์ไปไหน มีสวิตช์ให้เลือกทั้งน้ำเงิน น้ำตาล แดง และเหลืองเลย
ราคา : 1,590 บาท
6.Tsunami Outemu MK-100
คีย์บอร์ดเกมมิ่งราคาไม่ถึงเจ็ดร้อยบาทมันมีจริง แถมยังได้ไซส์เต็ม ปุ่มใช้งานครบครัน ก็เจ้า Tsunami Outemu MK-100 นี่ล่ะ ราคานี้แต่ไม่ธรรมดานะบอกเลย ฟังก์ชันการใช้งานครบครันเทียบเท่าคีย์บอร์ดหลักพันต้น ๆ มีให้เลือกทั้ง Blue Red และ Brown Switches สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบมีสายและไร้สาย ดีไซน์มินิมอล ไฟ RGB อย่างแจ่ม มันฟินตรงที่คีย์แคปเดิมของเขาเป็นแบบพุดดิ้งแสงไฟลอดออกมาได้เต็มที่ กดฟิน มันมือ เรียกได้ว่าเป็นคีย์บอร์ด Mechanical ราคาถูกที่อยากแนะนำมาก
ราคา : 699 บาท
7.Machenike K500F
ส่งท้ายกันด้วยเกมมิ่งคีย์บอร์ดราคาหลักพัน ดีไซน์สวย กระชากใจ มาพร้อมตัวเคสและคีย์แคปใส 81 ปุ่มพร้อม Knob ตัวช่วยด้านการเพิ่มลดเสียง จัดเต็มไฟ RGB หลากสีสัน รุ่นนี้ได้มาตรฐานแน่นอน เสียงกดนุ่มกว่าคีย์บอร์ดตัวอื่นที่ราคาใกล้เคียงกัน มีสวิตช์ให้เลือกทั้ง Tactile และแบบ Linear กดฟิน มัน เพลิน ลื่นมือสมกับที่ทางแบรนด์เขาเคลมว่าตัวเองเป็นแบรนด์อันดับ 1 คีย์บอร์ดเกมมิ่ง แต่อย่าเพิ่งเชื่อถ้าไม่ได้ลองด้วยตัวเอง!!
ราคา : 1,899 บาท
และทั้งหมดนี้ก็คือ 7 คีย์บอร์ดเกมมิ่งในงบประมาณ 2,000 บาท ราคาจับต้องง่ายที่เราอยากแนะนำ เห็นหน้าค่าตาของน้อง ๆ แต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่นแล้วก็ใจละลายเลยใช่ไหมล่ะ ลองจินตนาการภาพตามถึงตอนที่เราได้กดปุ่มนุ่ม ๆ เด้งสู้มือ เสียงต๊อกแต๊กสุดฟิน ต่างจากคีย์บอร์ด Rubber dome ที่ค่อนข้างไร้มิติ นี่ไม่ได้จะบูลลี่น้องนะ แต่ปุ่มยางบางตัวงบหลักพันซื้อมาแล้วเสียใจ เช่นนั้นนั้นแล้วก็หันมาเข้าวงการเมคคานิคคอลกันเถอะ หลงรักหัวปักหัวปำแน่นอน
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ DailyLifeStyle