ทำความรู้จักกับอาการ ลองโควิด

by dailylifestyle
ลองโควิด

การที่เราป่วยเป็นโควิดนั้น หลังจากที่ทำการรักษาจนหายดีแล้ว ยังมีบางส่วนที่อาการยังคงอยู่ มีใครเคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าเพราะอะไร บางคนถึงยังมีอาการอยู่หลายวันหลายเดือน อาการเหล่านี้มันคืออาการลองโควิดค่ะทุกคน ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงวัย คนที่มีโรคประจำตัว โรคอ้วน อาการลองโควิดจะมีอาการ 1 เดือนขึ้นไป หรือบางคนอาจจะยาวนานมากกว่านั้น เป็นอาการที่มาจากการติดเชื้อโควิด-19  วันนี้ DailyLifeStyle จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการเหล่านี้กันค่ะ

อาการลองโควิด คืออะไร

ลองโควิด

ลองโควิด หรือที่เราจะพูดกันบ่อย ๆ ว่า อาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราติดเชื้อและได้รักษาหายแล้ว เพราะว่าการที่เราติดเชื้อโควิด ร่างกายของเราจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาค่ะ จากนั้นจะไปจับตัวกับโปรตีนในอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของเรา และจะไปทำลายส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย

ลองโควิดเป็นอาการเจ็บป่วยที่จะไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน  ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น จะมีตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท ทางเดินอาหาร ไปจนถึงหลอดเลือด และหลาย ๆ คนกลับไปใช้ชีวิตปกติยังไม่ได้เลย มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 35-50 เปอร์เซ็นต์ของคนที่หายจากอาการติดเชื้อ

ผลกระทบต่อสุขภาพของเรา

ลองโควิด

อาการของลองโควิดจะมีดังต่อไปนี้ค่ะ ตัวอย่างเช่น เริ่มปวดหัว รู้สึกมึน ๆ บ้างในบางครั้ง ความจำและสมาธิค่อนข้างสั้น น้ำตาไหลอยู่บ่อย ๆ  เกิดอาการแสบตาและคันที่ตา จมูกจะไม่ค่อยได้กลิ่นเกิดการคัดในจมูก ลิ้นรับรสอาหารจะเปลี่ยนไปจากเดิม บางคนถึงกับลิ้นชาไม่รู้รสชาติอะไรเลยค่ะ มีอาการไอ เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวกบ้างบางครั้ง เจ็บที่หน้าอก ใจสั่น ๆ บางคนเป็นไข้ก็มี กินอะไรไปก็ปวดท้อง อาหารย่อยยากกว่าเดิม ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ ไม่มีแรงทำอะไร สมองช้า คิดอะไรไม่ค่อยออก มีความดันสูงขึ้น เกิดอาการซึมเศร้าร่วมด้วย หนัก ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะทุกคน ไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้นกับ รักษาตัวเองให้ดีนะคะ

ไม่ว่าจะเป็นอาการโควิด หรือว่าลองโควิด คงไม่มีใครอยากจะเป็นกัน เพราะฉะนั้น เราต้องป้องกันตัวเองให้ดีที่สุดนะคะ แต่ก็อย่าลืมใช้ชีวิต ไม่ใช่ว่ากลัวจนไม่กล้าออกไปทำอะไรเลย ไปได้แต่ให้ระวังตัวกันค่ะ มีแมสก์ เจลแอลกอฮอล์ ติดตัวไปข้างนอกทุกครั้งนะคะ

เพื่อเป็นการเซฟตัวเองเซฟคนที่รัก ถ้าหากว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้แยกกักตัวโดยเร็วเลย กักตัวอย่างน้อย 7 – 14 วัน และตรวจ ATK ทุกๆ สามวัน หากอยากให้ชัวร์ให้ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR นะคะ

You may also like

Leave a Comment