เรียนนิติศาสตร์ ดีไหม จบมาแล้วทำงานอะไร กับสิ่งที่ต้องรู้ก่อนเรียน!

by dailylifestyle
เรียนนิติศาสตร์

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังตามหาเส้นทางแห่งอนาคต และกำลังสงสัยว่าเรียนนิติศาสตร์ดีไหม คนจบมาเยอะ จะมีงานรองรับหรือเปล่า ยังตอบโจทย์สำหรับเด็กยุคใหม่ในอนาคตอยู่หรือไม่ แล้วถ้าอยากทำงานสายกฎหมาย จบไปแล้วทำงานอะไรได้บ้าง พร้อมแนะนำมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตทั่วประเทศไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปไขคำตอบที่ข้องใจกันเลยดีกว่า

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เรียนนิติศาสตร์ จบมาแล้วทำงานอะไร เรียนกฎหมาย ดีไหม มาดูกัน! 

นิติศาสตร์ คือ คือกลุ่มวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม รวมไปถึงปรัชญา และการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย เชื่อว่าน้อง ๆ ที่เข้ามาหาข้อมูลก็น่าจะมีข้อสงสัยอยู่มากมาย เนื่องจากการเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนชีวิตของเราตลอดกาล ถ้าเลือกผิด ชีวิตเปลี่ยน เสียเวลาเปล่า อยากรู้ว่าเรียนนิติศาสตร์ เรามีคำตอบมาให้อย่างแน่นอน

เรียนนิติศาสตร์

คณะนิติศาสตร์ เรียนยากไหม?

ระดับความยากง่ายในการเรียนนิติศาสตร์ ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวชี้วัดออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน ทั้งนี้จะยากหรือง่านเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความชอบ และระดับการทำความเข้าใจของผู้เรียนเองมากกว่า ส่วนใหญ่เน้นเรื่องความเข้าใจ เอาจินตนาการเข้าช่วย ประกอบกับความจำ ถ้าชอบดูซีรีส์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เราว่าเรียนกฎหมายสนุกมากยิ่งขึ้นแน่นอน

เรียนนิติศาสตร์

เรียนกฎหมาย ท่องจำเยอะไหม?

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการท่องจำตัวบทกฎหมายนั้นคือสิ่งสำคัญ ในการเรียนคณะนิติศาสตร์ หากมีความเข้าใจ มองเรื่องราวเป็นรูปภาพเสริมจินตนาการ แล้วท่องตัวบทกฎหมายก็จะช่วยให้เราทำข้อสอบได้ง่ายมากขึ้น ส่วนในแต่ละเทอมอาจจะต้องท่องกฎหมายมาก-น้อย แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะวิชาใหญ่ ๆ ภาพกว้างหน่อย ในหนึ่งเทอมจำเป็นจะต้องท่องกฎหมายหลายร้อยมาตรา แต่เห็นแบบนี้แล้วก็อย่าเพิ่งท้อไป เพราะเมื่อได้ลองลงไปเรียนจริง ๆ จะเข้าใจเอง

เรียนนิติศาสตร์

เรียนนิติศาสตร์แต่ละมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างไร? 

นิติศาสตร์ มหาลัยไหนดี เชื่อว่านี่คือสิ่งที่น้อง ๆ หลายคนอยากทราบ เพราะนอกจากมหาวิทยาลัยแบบปิดทั่วไปแล้ว ปัจจุบันการเรียนมหาวิทยาลัยเปิด หรือตลาดวิชาก็ยังมีให้เลือกแบบฟรีสไตล์ แม้ตัวบทกฎหมายจะเหมือนกันไปหมด แต่สไตล์การสอนของท่านอาจารย์ย่อมแตกต่าง ส่วนใหญ่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นที่โด่งดังด้านกฎหมาย จะเน้นสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ การพัฒนากฎหมาย แนวคิดประวัติศาสตร์เสียมากกว่า ส่วนถ้าเป็นตลาดวิชาชื่อดัง ก็จะเน้นการตีความกฎหมาย แน่นเรื่องตัวบท ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้กันในวงการทนาย อัยการ ผู้พิพากษาเป็นหลัก

เรียนนิติศาสตร์

เรียนนิติศาสตร์ ทำงานอะไร  

ภาพจำของใครหลายคนก็คือ เรียนกฎหมาย จบมาทำงานอะไร ส่วนใหญ่นึกถึงทนาย อัยการ ผู้พิพากษา อาชีพยอดฮิต แต่ความจริงแล้วการเรียนสายกฎหมายสามารถทำงานได้หลากหลายอาชีพทั้งส่วนเอกชน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ และต่อไปนี้คืออาชีพยอดฮิตที่อาจกลายเป็นอนาคตของน้อง ๆ ก็ได้นะ 

– นิติกร (สามารถสมัครงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน)

– Law Firm หรือที่ปรึกษากฎหมาย 

– ทนาย (ต้องสอบตั๋วทนาย)

– พนักงานอัยการ (ต้องเก็บประสบการณ์ และจบเนติบัณฑิต ก่อนสอบพนักงานอัยการ)

– ผู้พิพากษา (ต้องเก็บประสบการณ์ และจบเนติบัณฑิต ก่อนสอบผู้พิพากษา) 

– เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน ธนาคาร

– เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี 

– อาจารย์สอนกฎหมาย 

– พนักงานสอบสวน (สังกัดตำรวจ)

– ฝ่ายกฎหมายบริษัทเอกชน 

เรียนนิติศาสตร์ ต้องเก่งอะไร? 

แน่นอนว่าถ้าเป็นเรื่องของกฎหมาย เราจะไปเรียนรู้กันทีหลังอยู่แล้ว เชื่อว่าสิ่งที่น้อง ๆ อยากทราบก็คือ การเรียนกฎหมายจำเป็นต้องมีทักษะใดติดตัวบ้าง ซึ่งด้วยความที่กฎหมายนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ สิ่งที่อยากให้ทุกคนเก็บไปพิจารณาก็คือทักษะการเขียนบรรยาย เขียนอธิบาย การเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเป็นสำคัญ เพราะถ้าเราขาดสกิลส่วนนี้ไป จะทำให้สอบผ่านยากมาก แนะนำให้ฝึกหัด เรียนรู้ และพัฒนาเดี๋ยวก็จะชินไปเอง

เรียนนิติศาสตร์

นิติศาสตร์กับด้านมืดที่ต้องรู้ก่อนเรียน 

แน่นอนว่า วิชากฎหมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดได้หลากหลายมากในอนาคต แต่โอกาสการตกงานก็สูงมากเช่นกัน เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการทำงาน หากอยากเข้าบริษัทเอกชน แต่ถ้าทำงานราชการนิติศาสตรบัณฑิต (ใบเดียว) ก็สามารถสอบแข่งขันกับสาขาอื่นได้อย่างสบาย ๆ ไม่ว่าจะแข่งขันกับสาขารัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ 

แต่ถ้าอยากทำงานสายกฎหมายจริงจัง การไต่เต้าไปเป็นอัยการ ผู้พิพากษา จำเป็นต้องอาศัยหลากหลายปัจจัย โดยต้องเป็นผู้มีอายุ 25 ปีขึ้นไป จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านกฎหมายเป็นจำนวนปีชัดเจน หรือจำนวนการทำคดีตามกำหนด ทั้งยังจะต้องจบการณ์ศึกษาเนติบัณฑิต ก่อนสอบแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันก็ยังแบ่งออกเป็นหลายสนาม หากอยากเพิ่มโอกาสในการทำงานก็อาจต้องมีวุฒิการศึกษาปริญญาโทอีกหนึ่งใบ หรือจบการศึกษาปริญญาโทจากต่างประเทศ หรือจบการศึกษาปริญญาเอกในประเทศไทย 

และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับการเรียนนิติศาสตร์ ที่เชื่อว่าหลายคนกำลังหาคำตอบก่อนเข้าไปเรียนรู้จริง หรือหาประสบการณ์ โดยรวมก็ถือเป็นสาขาวิชาที่คัดเกรดคนเข้าทำงานประมาณหนึ่ง จึงมีโอกาสตกงาน หรือจบมาแล้วทำงานไม่ตรงสายค่อนข้างสูง แต่ถ้าน้อง ๆ ชอบมาก มีความใฝ่ฝันว่าสักวันจะต้องทำงานในสายอาชีพนี้ให้ได้ รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง ก็ต้องหมั่นขยันเติมไฟ และลงมืออย่างจริงจัง ไม่มีสิ่งใดเกินความสามารถของเราไปอย่างแน่นอน 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ DailyLifeStyle

You may also like

Leave a Comment